วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขายสินค้า


Image result for หม้อหุงข้าว
Related image
Related image
หม้อหุงข้าว เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับหุงข้าว เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น หม้อหุงข้าวที่เก่าแก่ที่สุด เรียกว่า คามาโดะ มีมาตั้งแต่ยุคสมัยโคฟุน ค.ศ. 300-710 คามาโดะเป็นเตาดินเสริมด้วยอิฐหักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนทานต่อความร้อน ใช้ฟืนในการหุงต้ม นอกจากใช้หุงข้าวแล้วก็ยังนำมาต้มซุปถั่ว แต่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ต่อมาสมัยนารา-เฮอัน ราวปี ค.ศ.710-794 หม้อหุงข้าวพัฒนามาเป็น โอกิ-คามาโดะ สร้างขึ้นให้ใช้งานกลางแจ้ง และมีภาชนะแยกส่วนสำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่าฮากามะ สำหรับหย่อนลงในหลุมที่ด้านล่างมีกองฟืนสำหรับหุงต้ม ภายหลังมีการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุข้าวสำหรับหุงโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นทรงรีทำด้วยโลหะ เรียกว่า โอกามา เรียกหม้อหุงข้าวชนิดนี้ว่า มูชิ-คามาโดะ
เริ่มมีการทดลองผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ในช่วงปลายยุคสมัยไตโช กลางทศวรรษ 1920 ต่อมาปลายทศวรรษ 1940 บริษัทมิตซูบิชิ อิเลคทริก ผลิตหม้อหุงข้าวที่มีหม้อและขดลวดนำความร้อนอยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงที่สุดกับหม้อหุงข้าวในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่สะดวกสบายนัก ยังไม่มีระบบอัตโนมัติ ภายหลังบริษัทมัตซูชิตะและโซนี่ผลิตหม้อหุงข้าวออกจำหน่าย แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สตรีญี่ปุ่นต้องใช้แรงงานในการสงครามด้วย ความสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลาในการหุงข้าวจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ในวันที่ 10 ธันวาคม 1956 บริษัทโตชิบานำหม้อหุงข้าวอัตโนมัติออกวางจำหน่าย 700 ใบ ประสบความสำเร็จมาก โตชิบาเริ่มผลิตหม้อหุงข้าวอีก 200,000 ใบ ในเวลาเพียง 1 เดือน อีก 4 ปี ต่อมาหม้อหุงข้าวเริ่มแพร่หลายไปเกือบครึ่งประเทศ หม้อหุงข้าวของโตชิบานี้ใช้เวลาเพียง 20 นาที มี 2 ชั้น ชั้นนอกสำหรับบรรจุน้ำ ส่วนชั้นในสำหรับบรรจุข้าว รูปแบบนี้ใช้อยู่นานถึง 9 ปี จึงเปลี่ยนพัฒนามาเป็นหม้อหุงข้าวในยุคปัจจุบัน
หม้อหุงข้าวแบบใช้หม้อสองชั้นที่ โตชิบา ผลิตออกมาในปีค.ศ.1956 และเป็นที่นิยมในเวลานั้น ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะหุงข้าวได้เสร็จสมูรณ์และใช้ไฟค่อนข้างมาก ราวช่วงกลางยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1960 หม้อหุงข้าวแบบนี้จึงเสื่อมความนิยมลง และถูกแทนที่ด้วยหม้อหุงข้าวแบบหม้อชั้นในใบเดียว อันเป็นแบบที่มีใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยนั้นผู้ผลิตบางรายก็เคลือบสารกันข้าวติดหม้อเพื่อง่ายในการทำความสะอาด
เนื่องจากข้าวที่หุงเสร็จะเย็นลงค่อนข้างเร็ว ในปีค.ศ. 1965 บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นชื่อ Zojirushi ก็ได้ผลิตหม้อหุงข้าวแบบที่มีระบบอุ่นในตัวออกวางจำหน่ายครั้งแรกของโลก สามารถขายได้ถึง 2,000,000 ใบต่อปี และบริษัทผู้ผลิตรายอื่นก็หันมาใช้ระบบนี้เช่นกัน ซึ่งระบบอุ่นนี้โดยทั่วไปจะอุ่นได้อย่างต่ำ 24 ชั่วโมง ซึ่งมีประโยชนืในการหยุดยั้งการเติบโตของแบ็คทีเรียบางประเภท ซึ่งมีผลทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ
และในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เมื่อ ไมโครโพรเซสเซอร์ เข้ามามีบทบาทในเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนมากขึ้น มันก็ถูกนำมาใช้กับหม้อหุงข้าวเช่นกัน โดยเป็นจุดเริ่มต้นของหม้อหุงข้าวอัตโนมัติที่สามารถตั้งโปรแกรมการหุงได้หลากหลายและละเอียดมากขึ้น ในเรื่องการตั้งเวลาหุง ชนิดของข้าวที่หุง และการควบคุมอุณหภูมิในการหุงแบบอัตโนมัติ บางรุ่นที่ราคาสูงก็มีระบบนึ่งข้าวหรืออุ่นข้าวด้วยไอน้ำในตัว
ในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ประเทศจีนก็เริ่มผลิตหม้อหุงข้าวราคาถูกที่มีคำสั่งการทำงานแค่ระดับพื้นฐานออกมาเป็นจำนวนมากและส่งขายไปหลายประเทศทั่วโลก ส่วนผู้ผลิตจากทางประเทศญี่ปุ่นจะแข่งขันในตลาดส่วนนี้ไปที่เรื่องของคุณภาพผลิตภัณฑ์และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
และในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 2000 หม่อหุงข้าวราคาแพงระดับ High-end ก็ออกสู่ตลาดมากขึ้นและกลายเป็นที่สนใจมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคมากขึ้น โดยหม้อหุงข้าวประเภทนี้วัสดุที่ใช้ทำหม้อภายในจะไม่ได้ทำจากวัสดุประเภทโลหะ เพื่อให้เกิดการทำความร้อนในรูปแบบของรังสี far-infared ซึ่งมีผลในการปรับปรุงรสชาติและคุณภาพของข้าวที่หุงสุก ในปี ค.ศ.2006 บริษัท มิตซูบิชิ ก็ผลิตหม้อหุงข้าวราคาแพงระดับ High-end ออกมารุ่นหนึ่ง ที่ตัวหม้อภายในถูกตั้งชื่อว่า Honsumigama ซึ่งผลิตาจากคาร์บอนบริสุทธิ์ที่ขึ้นรูปด้วยมือ ทำงานร่วมกันกับการเหนี่ยวนำความร้อน ซึ่งจะสร้างความร้อนได้ละเอียดและมีประสิทธิภาพมากกว่า ออกวางจำหน่ายด้วยราคา 115,500 เยน (1,400 ดอลลาร์สหรัฐ) สามารถขายได้ 10,000 ใบ ภายในเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เริ่มออกจำหน่ายครั้งแรก เป็นหม้อหุงข้าวที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดผลิตภัณฑ์ประเภทหม้อหุงข้าวระดับ High-end หม้อหุงข้าวประเภทนี้จะมีวัสดุที่ใช้ทำตัวหม้อภายในหลากหลายรูปแบบ ทั้งทองแดงบริสุทธิ์ เซรามิกผสมเหล็ก บ้างก็มีการเคลือบเพชร
บริษัทผู้ผลิตหม้อหุงข้าวหลายรายต่างค่อนข้างจริงจังและทุ่มเทในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งหม้อหุงข้าวที่หุงข้าวออกมาได้ดีที่สุด ทั้งในเรื่องรสชาติและรูปลักษณ์ของข้าวที่ผ่านการหุงจนสุก
มีหม้อหุงข้าวผลิตออกมาราว 85 ล้านใบในปี ค.ศ.2005 ส่วนใหญ่ผลิตในลประเทศจีน เกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น และ 70% ของหม้อหุงข้าวในปัจจุบันผลิตในประเทศจีน
หม้อหุงข้าวPDFพิมพ์อีเมล

คู่มือการซื้อและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน : หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของมนุษย์ที่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้า   หุงข้าวให้สุกอย่างอัตโนมัติ และรักษาอุณหภูมิของข้าวได้ หม้อหุงข้าวได้พัฒนารูปแบบออกไปมากมาย เช่น มีระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ มีระบบไอน้ำ และมีระบบที่สามารถประกอบอาหารได้หลายๆ อย่างเช่น นึ่ง ตุ๋น ต้ม เป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า คือ ปลั๊ก สายไฟฟ้าสวิตช์ แผ่นความร้อนและฉนวน ซึ่งอุปกรณ์ทุกชิ้นเหล่านี้มีความสำคัญต่อคุณภาพของหม้อหุงข้าว มีผลต่ออายุการใช้งานและมีผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าตามมาตรฐาน
  1. มีความปลอดภัยต่อกระแสไฟฟ้าช็อก โดยมีที่จับสำหรับเปิดปิดได้สะดวก ทำด้วยวัสดุที่มีคุณภาพดี มั่นคงแข็งแรง
  2. มีความสามารถในการรักษาอุณหภูมิได้เหมาะสม
  3. ฝาหม้อไม่ได้ทำด้วย Celluloid หรือ Nitrocellueose ซึ่งเป็นสารที่ติดไฟง่ายและมีไอระเหยที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
 ข้อแนะนำในการซื้อและการใช้
  1. อย่ากดสวิตช์เปิด-ปิด ขณะที่ไม่มีหม้อชั้นใน
  2. อย่าใช้วัตถุมีคม ถูหรือขัดหม้อชั้นใน เพราะจะทำให้สารที่เคลือบหม้อหลุดไปได้
  3. อย่าเสียบปลั๊กหรือสวิตช์ หรือจับหม้อชั้นนอกขณะที่มือเปียก เพราะอาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว
  4. ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังจากการใช้งาน
  5. ก่อนการใช้งานเช็ดหม้อชั้นในและแผ่นความร้อนให้แห้งสะอาดเสียก่อน
  6. เมื่อกดสวิตช์หุง ถ้ากดไม่ติดห้ามใช้วัสดุใดค้ำหรือกดคาไว้
  7. การใช้หม้อหุงข้าวครั้งต่อไป ควรรอประมาณ 10 นาที เพื่อให้หม้อหุงข้าวมีอุณหภูมิกลับสู่ปกติก่อน
ซื้อตอนนี้ซื้อ1เเถม1
สนใจสั่งซื้อโทร 0863942580




โปรเเกรม



1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรม Flash
โปรแกรม Flash คืออะไร ?
โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด เนื่องจากเป็นกราฟิกแบบเว็คเตอร์(Vector), สามารถเล่นเสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้, สามารถสร้างงานให้โต้ตอบกับ
ผู้ใช้
(Interactive Multimedia) มีฟังก์ชั่นสำหรับการเขียนโปรแกรม (Action Script) และยังทำงานในลักษณะ CGI โดยเชื่อมต่อกับ
การเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา
 PHP, JSP, ASP, ASP.NET, C/C++, C#, C#.NET, VB, VB.NET, JAVAและอื่นๆ โดยเฉพาะข้อดีของโปรแกรม Flash คือ ความสามารถในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก มีผลทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้หลากหลาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf,eps, ai, dxf, bmp, jpg, gif, png เป็นต้น
โปรแกรม Flash เริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี พ.ศ. 2539 จนถึง ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเว็บ ทำให้การนำเสนอทำได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้น โปรแกรม Flash ยังสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้ทำงานต่างๆ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และทำงานได้กับหลายๆ แฟลตฟอร์ม (Platform)


เจ้าของผลิตภัณฑ์
Adobe Flash(อะโดบี แฟลช)
ซึ่งยังหมายถึง Macromedia Flash Player 
และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการเขียนสื่อมัลติมีเดียที่เอาไว้ใช้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับ Flash ซึ่งตัว Flash Player พัฒนาและเผยแพร่โดย อะโดบีซิสเต็มส์ 
(เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท ฟิวเจอร์แวร์ ตอนหลังเปลี่ยนเป็น แมโครมีเดีย 
ซึ่งภายหลังถูกควบรวมกิจการเข้ากับ Adobe
[spaces:0]
.swf
ไฟล์ .swf เป็นไฟล์ที่สมบูรณ์, ถูก compiled แล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้อีก
สามารถเล่นได้ในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรม Flash Player
.fla
ไฟล์ .fla เป็นไฟล์ต้นฉบับของโปรแกรม Flash โปรแกรมที่ใช้เขียน Flash สามารถแก้ไขได้ และ compile ให้เป็นไฟล์ .swf ได้
.flv
ไฟล์ .exe เป็นไฟล์ที่ถูก compiled แล้ว เป็น Application ซึ่งได้รวมเอาโปรแกรมเสริม (Flash Player) เข้าไว้ด้วยกันไม่สามารถแก้ไขได้
สามารถเล่นได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมเสริม
2. การเปิดใช้งานโปรแกรม

วิธีที่ 1 ดับเบิลคลิกรูปสัญลักษณ์ icon Desktop ดังภาพ   
 วิธีที่ 2 คลิกปุ่ม Start > Programs > Macromedia > Macromedia Flash 8
โปรแกรมจะเริ่มทำงานแล้วเข้าสู่หน้าต่างต้อนรับดังภาพ
3. ส่วนประกอบของโปรแกรม Flash 8

หมายเลข 1 คือ
Title Bar แสดงปุ่มควบคุมหลัก (Control Menu) ชื่อโปรแกรม และปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม
หมายเลข 2 คือ
 Menu Bar แสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม
หมายเลข 3 คือ
Toolbar แสดงปุ่มเครื่องมือการทำงานมาตรฐานของโปรแกรม เช่น ปุ่มเปิดงานใหม่เปิดไฟล์เอกสาร, จัดเก็บไฟล์ เป็นต้น
หมายเลข 4 คือ
Toolbox แสดงปุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการวาดภาพ สร้างภาพ
หมายเลข 5 คือ
Timeline หน้าต่างแสดงเส้นควบคุมเวลาสำหรับการนำเสนอผลงาน ประกอบด้วยส่วนทำงาน  เกี่ยวกับ Layer และ Timeline
หมายเลข 6 คือ
Stage พื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า "เวที"
เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะ แสดงเฉพาะวัตถุบน Stage เท่านั้น
หมายเลข 7 คือ
Panel หน้าต่างควบคุมฟังก์ชันงาน ซึ่งมีหลายฟังก์ชัน (หลายหน้าต่าง)


แถบคำสั่ง (Menu Bar)
แถบคำสั่ง (Menu bar) ประกอบด้วยคำสั่งต่าง ๆ สำหรับใช้งานทั่วไป เหมือนโปรแกรมอื่น ๆ
ได้แก่ เมน ูFile, Edit, Insert, Modify, Text, Commands, Control, Windows และ Help
      
แถบเครื่องมือ (Tool Bar)
            


ในการเปิดใช้งานครั้งแรกแถบเครื่องมือจะไม่แสดงให้คลิกที่เมนู Windows > Toolbars > แล้วคลิกทำเครื่องหมายถูกที่ Main, Controller และ Edit Bar ดังภาพ
         
 
        

กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
กล่องเครื่องมือ (Toolbox) เป็นส่วนที่เก็บเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เพื่อสะดวกในการเรียกใช้งาน ดังภาพ
 

1. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับเลือก
  

2. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับวาดและตกแต่งภาพ
  

3. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับปรับมุมมอง
 

4. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับปรับสีเส้นและสีพื้นหลัง

5. ถาดเครื่อง (Palate Tool) อยู่ด้านขวามือของหน้าจอเช่น ถาดปรับแต่งสี ถาดเก็บทรัพยกรต่างๆ
ถาดปรับแต่งสี (Color Mixer Palate)ใช้เลือกสีเส้นและสีพื้นหลังรวมถึงผสมสีแบบต่างๆ
ถาดเก็บทรัพยากรต่างๆ (Library Palate) เช่น ซิมโบล เสียง ภาพ วิดีโอ เป็นต้น

Timeline Frame และ Layer
Timeline เป็นส่วนที่กำหนดความสั้นยาวของมูฟวี่ (Movie)Frame    เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลซึ่งอาจเป็นคำสั่ง รูปภาพหรือข้อความที่แสดงให้ผู้ชมได้เห็น 
Layer      เป็นส่วนที่เก็บข้อมูล แยกออกจากกันเป็นชั้นๆเหมือนแผ่นใสเพื่อง่ายต่อการจัดการและแก้ไข
Stage     เป็นพื้นที่แสดงมูฟวี่ (Movie) ที่อยู่ในเฟรม (Frame) และ เลเยอร์ (Layer)
 









ภาพถ่าย

Image result for หม้อหุงข้าว

Related image



Related image